สมาคมชาวใต้ ชลบุรี
งานสารทรเดือนสิบ
การแสดง มโนราห์

"งานประเพณี สาทรเดือนสิบ" ความสำคัญ เป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดภาคใต้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แก่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง และจะกลับไปนรกในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ในโอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว.เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที สาระ ประเพณีสารทเดือนสิบมีสาระสำคัญหลายประการ ดังนี้
๑. เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ได้อบรมเลี้ยงดูลูกหลาน เพื่อตอบแทนบุญคุณ ลูกหลานจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
๒. เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไกล ได้พบปะทำบุญร่วมกันสร้างความรักใคร่สนิทสนมในหมู่ญาติ
๓. เป็นการทำบุญในโอกาสที่ได้รับผลผลิตทางการเกษตรที่เริ่มออกผลเพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
๔. ฤดูฝนในภาคใต้จะเริ่มขึ้นในปลายเดือนสิบ พระภิกษุสงฆ์บิณฑบาตยากลำบาก ชาวบ้านจึงจัดเสบียงอาหารนำไปถวายพระในรูปของหฺมฺรับ ให้ทางวัดได้เก็บรักษาเป็นเสบียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน

"พีธีกรรม เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ"

สารทเดือนสิบ พีธีกรรม เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พญายมปล่อยตัวผู้ล่วงลับไปแล้วที่ (เรียกว่า "เปรต") มาจากนรก สำหรับวันนี้บางคนก็ประกอบพิธี บางคนจะประกอบพิธีในวันแรม 13 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ โดยการนำอาหารไปทำบุญที่วัดเรียกว่า "หมรับเล็ก" เป็นการต้อนรับบรรพบุรุษ และญาติมิตรที่ขึ้นมาจากนรกเท่านั้น การเตรียมการสำหรับประเพณีสารทเดือนสิบ เริ่มขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 วันนี้ เรียกว่า "วันจ่าย" เป็นวันที่เตรียมหมรับ และจัดหมรับ คือการเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดหมรับ เมื่อได้ของตามที่ต้องการแล้วก็เตรียมจัดหมรับ การจัดหมรับแต่เดิมใช้กระบุงเตี้ย ๆ ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่ภายหลังใช้ภาชนะได้หลายชนิด เช่น กระจาด ถาด กะละมัง ถัง หรือ กระเชอ สำหรับสิ่ง การจัดหมรับ

"ชั้นแรกใส่ข้าวสารรองกระบุง"

ชั้นแรกใส่ข้าวสารรองกระบุงแล้วใส่หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาคาว หวาน ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น มะพร้าว ฟัก มัน กล้วย (ที่ยังไม่สุก) อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ขมิ้น และพืชผักอื่น ๆ นอกจากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าดไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กะทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย เครื่องเชี่ยนหมาก ได้แก่ หมาก พลู ปูน กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูปเทียน แล้วใส่สิ่งอันเป็นหัวใจอันสำคัญของหมรับคือ ขนม 5 อย่างมี ดังนี้ ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับบุรพชน ใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับบุรพชนจะได้ใช้เล่นสะบ้า ในวัน สงกรานต์ ขนมกง (ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ย สำหรับใช้สอย

ประเพณีสารทเดือนสิบสันนิษฐานว่า

ประเพณีสารทเดือนสิบสันนิษฐานว่าเป็นประเพณีที่รับอิทธิพลมาจากวัฒธรรมอินเดียกับประเพณอื่นอีกหลายประเพณีที่ชาวนครฯรับมา ทั้งนี้เพราะว่าชาวนครติดต่อกับอินเดียมานาน ก่อนดินแดนส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย วัฒธรรมและอารยธรรมของอินเดียส่วนใหญ่จึงถ่ายทอดมายังเมืองนครเป็นแห่งแรกแล้วค่อย ๆ ถ่ายทอดไปยังเมืองอื่น ๆ และภูมิภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย ประเพณีสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่วิวัฒนาการมาจาก ประเพณี " เปตพลี " ของศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือในศาสนาพราหมณ์มีประเพณีอยู่ประเพณีหนึ่ง เรียกว่า " เปตพลี " เป็นประเพณีที่จัดทำขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ประเพณีนี้ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล.

ความหมายของคำว่า "เปรต"

คำว่า ” เปรต ” ในภาษาสันสกฤตแปลว่า ” คำว่า ” แปต ” เป็นภาษาบาลีตรงกับคำว่า ” เปรต ” ในภาษาสันสกฤตแปลว่า ” ผู้ไปก่อน ” หมายความถึงบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว ของใคร ๆ ทุกคน ถ้าเป็นคนดี พญายมซึ่งเป็นเจ้าแห่งความตายจะพาวิญญาณไปสู่แดนอันเป็นบรมสุขไม่มาเกิดอีกแดนนี้อาจจะอยู่ทิศใต้แคนเดียวกับยมโลก ตามความเชื่ออันเป็นความเชื่อดังเดิมที่สุดของพราหมณ์ซึ่งมีปรากฏในพระเวท อันเป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ ต่อมาพราหมณ์ได้เกิดความเชื่อชิ้นใหม่ คือความเชื่อ เกี่ยวกับนรก ดังนั้นชาวอินเดียจึงเกรงว่าบรรพบุรุษที่ตายอาจจะไปตกนรกก็ได้หากคนไม่ช่วย วิธีการช่วยไม่ให้คนตกนรกก็คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เรียกว่าพิธีศราทธ์ ซึ่งกำหนดวิธีการทำบุญไว้หลายวิธี หากลูกหลานญาติมิตรไม่ทำบุณอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุที่ตายไปเป็นเปรตจะได้รับความอดยากมาก ดังนั้น การทำบุญทั้งปวงที่ทำเพื่ออุทิศผลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเรียกว่าทำบุญทักษิณานุปทานหรือเปตพลี นั้นล้วนเป็นความเชื่อที่มีเค้ามาจากเรื่องเปรตของพราหมณ์ทั้งสิ้น เปรมจิต ชนะวงค์ ได้กล่าวถึงประเพณีทำบุญเดือนสิบในจังหวัดนครศรีธรรมราชว่า ประเพณีสารทเดือนสิบเป็นประเพณีสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราชมาช้านาน เมื่อกล่าถึง “งานเดือนสิบ” แล้วใคร ๆ ก็คิดถึงเมืองนคร ชาวนครศรีธรรมราชที่จากภูมิลำเนาไปอยู่ไกลบ้าน ไกลเมือง เมื่อถึง “เดือนสิบ” ก็จะเริ่มกลับบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อร่วมงานประเพณีสารทเดือนสิบโดยทั่วหน้ากัน พิธีสารทนี้ ในภาคอื่นๆ เช่น ภาคอีสาน กำหนดทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ทางจังหวัดสงขลากำหนดทำบุญ ๒ วัน คือ เริ่มแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันส่ง ถือกันว่า ในวันแรม ๑ ค่ำ พญายมปล่อยเปรตมารับส่วนบุญและเรียกกลับในวันแรม ๑๕ ค่ำ ส่วนในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น กระทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐.

กิจกรรมของเรา

_DSC1532

เรียนเชิญ สมัครสมาชิกสมาคมชาวใต้ชลบุรี

ค่าสมัครสมาชิก 200 บาท ตลอดชีพ ส่งเอกสาร ได้ที่อินบ๊อก สมาคมชาวใต้ชลบุรี ประชาสัมพันธ์ วันที่03/07/2565 ติดต่อ ณัฐวุติ นิลวิศษ 0819826709

https://www.facebook.com/chawtaichonburi2012